คณะผู้บริหารและสมาชิกสภา   หัวหน้าส่วนราชการ   สำนักงานปลัด   กองคลัง   กองช่าง   กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมน้ำอูน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน เพื่อปฏิบัติราชการในการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมน้ำอูน ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 10 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองประธาน 1 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. อำนาจเกี่ยวกับการนิติบัญญัติ

2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล)

     2.1 ตั้งกระทู้ถามกรณีสมาชิก (ส.อบต.) สงสัยการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่อไปทางจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน

     2.2 เปิดอภิปรายต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่และความประพฤติเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง 

3. อำนาจการพิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายก่อนที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการใดในแต่ละปี ต้องนำงบฯ เข้าขอความเห็นชอบต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพราะสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยสมาชิกทุกคน เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถควบคุมการจัดหารายได้ การใช้เงิน (ภาษี) ของประชาชน มิให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (ฝ่ายบริหาร) นำไปใช้จ่ายในทางไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ทั้งนี้ สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจปรับ - ลด งบประมาณฯ ได้ตามที่กฎหมายกำหนด หากโครงการงบประมาณฯ ตั้งงบสูงอย่างผิดปกติ

หน้าที่หลักของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

1) รับทราบนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จากการรับฟังการแถลงนโยบาย แม้ว่าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะไม่สามารถลงมติไว้วางใจได้ก็ตาม แต่สมาชิกสภาฯ ก็สามารถซักถามและอภิปรายนโยบายที่แถลงนั้นได้ ซึ่งจะเกิดผลขึ้นได้ในหลายประการ ได้แก่

     ก. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะตัวแทนขององค์การบริหารส่วนตำบลพึงรับทราบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวิธีการหรือแนวทางในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะเป็นการผูกมัดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องบริหารงานเป็นไปตามนโยบายที่แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

     ข. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถซักถามและอภิปรายนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวางทำให้การทำงานมีความโปร่งใสมากขึ้น ตลอดจนการทำงานจะมีความรอบคอบละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

     ค. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถตรวจสอบการทำงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายหรือไม่ อันอาจจะใช้เป็นช่องทางในการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

     ง. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อนำมาปรับใช้ในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล

2) การตรวจตราข้อบัญญัติต่างๆ (ข้อบัญญัติในกิจการของสภาหรือข้อบัญญัติงบประมาณ) ที่จะกล่าวต่อไป

3) การควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร โดยวิธีการต่อไปนี้ ก. การเสนอญัตติ ข. การตั้งกระทู้ถามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล,รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล) ค. การอภิปราย ง. การแปรญัตติ จ. การแต่งตั้งคณะกรรมการ (กรรมการสามัญประจำสภาและคณะกรรมการวิสามัญ)

4) การให้ความเห็นชอบ ในเรื่องต่อไปนี้

     ก. การให้ความเห็นชอบในเรื่องของญัตติที่เสนอในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพิจารณา

     ข. การให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล (ข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีและข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม)

5) มีมติให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 47 ตรี (8) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนไม่น้อยกว่า 1/3 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3/4 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีมติ

6) หน้าที่อื่นๆ อีกหลายบทบาทเช่น การแก้ไขปัญหาข้อเดือดร้อนของประชาชนด้านต่างๆ การดูแลทุกข์ของประชาชนทั่วๆ ไป การเป็นผู้นำให้ท้องถิ่น การรักษาผลประโยชน์ให้ท้องถิ่น การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของท้องถิ่น เป็นต้น

7) ถ้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผู้นั้นมิได้อุทธรณ์หรือโต้แย้งมติของสภาภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ครบระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งดังกล่าว (อุทธรณ์หรือโต้แย้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบมติของสภา)

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน

จำนวนผู้เข้าชม

1899916
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
360
1992
23599
1857313
57644
71870
1899916

Your IP: 172.70.143.200
2024-04-20 05:37